มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
7 SOCIAL MEDIA TRENDS ที่นักการตลาดควรรู้
เนื่องจากการเกิดของสมาร์ทโฟนที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ง่าย รวดเร็วทันใจในการสื่อสารและเป็นส่วนตัว จากยุคจอเงินสู่ยุคจอทัชสกรีน ปฏิเสธไม่ได้ว่าสมาร์ทโฟนคือปัจจัย 5 ของคนไทยไปซะแล้ว นักการตลาดจึงต้องตามให้ทัน เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคตามนิสัยการบริโภคที่แปรเปลี่ยนไปตลอดเวลา และผู้คนก็ไม่ตอบสนองต่อกลยุทธ์การตลาดง่ายๆ อีกต่อไปแล้ว การตลาดจึงไม่ใช่แค่การโฆษณาบอกว่าผู้บริโภคจำเป็นต้องใช้สินค้าของคุณ แต่พวกเขาต้องมีส่วนร่วมพร้อมกับการได้ยินเรื่องราวเบื้องหลังของสินค้าและการใช้สินค้าจริงๆ อย่างเป็นประจักษ์พยาน ซึ่งเทรนด์ทั้ง 7 ข้อสามารถตอบโจทย์เหล่านี้ได้
1.AUGMENTED REALITY (AR) หรือเทคโนโลยีโลกเสมือนจริงกำลังถูกพัฒนาอยู่ในอยู่ในวงแคบๆ แต่จะทำให้เกิดผลกระทบอย่างมากต่อไปอีกนานในอนาคต ที่จริงแล้วมีการคาดการณ์ว่าตลาดเทคโนโลยี AR (Augmented Reality) และ VR (Visual Reality) จะมีมูลค่ามากกว่า 298 ล้านดอลล่าร์สหรัฐในปี 2023 ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือฟิลเตอร์รูปหน้าต่างๆ ของ Snapchat นอกจากฟิลเตอร์ที่แอพมีให้ ผู้ใช้ยังสามารถสร้าง geofilters ของตัวเองได้ด้วย จึงมีนักการตลาดจำนวนหนึ่งจ่ายสปอนเซอร์เพื่อให้ฟิลเตอร์ของพวกเขาไปอยู่ใน filter แต่เนื่องจาก snapchat ยังไม่เป็นที่นิยมในไทยเท่าไหร่ นักการตลาดในไทยเลยไม่ได้เจาะตลาด Snapchat เท่าไรนัก และ AR เป็นเทคโนโลยีที่คนไทยไม่ค่อยจะเคยได้ยินกัน ที่ตอนนี้กำลังแพร่ออกไปในแพลตฟอร์มอื่นๆ ซึ่งอาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของการโฆษณาในอนาคตอันใกล้ก็เป็นได้ 2.เอาใจคน GEN Z ขณะนี้คน Gen Z เริ่มจะเข้าสู่วัยทำงาน ซึ่งหมายถึงพวกเขาจะมีเงินในการจับจ่าย เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ นักการตลาดจึงเริ่มจะจับ Gen Z เป็นเป้าหมายแต่เนิ่นๆ ตัวอย่างเช่น ในธุรกิจค้าปลีกจะเน้นขายเสื้อผ้าที่เป็น High End แต่ในขณะเดียวกันก็ขายเสื้อผ้าที่หลากสไตล์ออกไป อีกทั้งธุรกิจค้าปลีกยังมีกลยุทธ์เปิดร้าน Pop-up Store (งานออกร้านต่างๆ ในช่วงเวลาสั้นๆ) และจัดอีเวนต์เพื่อให้ลูกค้าได้มีประสบการณ์ที่เป็นส่วนบุคคล (ลูกค้ามีส่วนร่วมกับการโปรโมท) มากขึ้น มีการคาดการว่าการค้าแบบนี้จะเป็นเทรนด์ของธุรกิจหลักไปอีกหลายปี เหตุผลที่ Pop-up Store และการจัดอีเวนต์เป็นที่นิยมเพราะว่าเป็นเอกลักษณ์ และถูกออกแบบให้แชร์ออกไปในโซเชียลมีเดีย เพราะชาวเจน Z เติบโตขึ้นมากับเทคโนโลยี จึงทำให้การทำการตลาดในโซเชียลมีเดียเหมาะกับคนกลุ่มนี้ที่สุด
3. วิดีโอ ไม่ว่ากระแสไหนจะมาหรือจะดับ แต่วิดีโอก็ยังคงเป็นสื่อกลางที่ยังครองโซเชียลมีเดียไม่เปลี่ยน แถมยังมีแนวโน้มโตขึ้นเรื่อยๆ อาจเป็นแรงบันดาลใจให้อินสตาแกรมสร้างปุ่ม Story โดยลอกจาก Snap Chat โดยอ้างอิงจาก Instagram ว่ามีผู้ใช้ Story ถึง 200 ล้านคนต่อเดือน ความพยายามทำการตลาดของ Instagram นี้ได้ผลชะงัดนัก เช่นเดียวกันกับ Youtube ที่กำลังโตขึ้นเรื่อยๆ เพราะการเพิ่มขึ้นของ Youtuber แพลทฟอร์มที่เป็นวิดีโอมีเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใครในปี 2018 เนื่องจากช่วยให้ลูกค้าไม่ว่าจะ Gen ใดก็ตาม ได้มีประสบการณ์ส่วนตัวร่วมกับธุรกิจ พูดง่ายๆ คือการที่ผู้บริโภคมีส่วนร่วมกับการโปรโมทสินค้าโดยใช้ Social Media เป็นตัวกลางในการเผยแพร่นั่นเอง เพราะธรรมชาติของมนุษย์เรียนรู้โดยการดู การใช้วิดีโอเป็นอะไรที่มากกว่าการดูรูปขยับ ภาคธุรกิจส่วนมากตระหนักได้ถึงการที่ช่องวิดีโอในยูทูปเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ วิดีโอเพื่อการตลาดจึงเติบโตตามนั่นเอง 4. CHATBOTS นอกจากวิดีโอแล้ว เฟซบุ๊คและไลร์ยังให้ความสะดวกสบายกับภาคธุรกิจในการเข้าถึงลูกค้าด้วย Chatbot Chatbot คืออะไร? บางทีคุณเข้าไปคลิกสินค้าหรือโพสโดยไม่ได้ตั้งใจ หรือคุณทักเพจหรือ Line@ ไปแต่ไม่มีแอดมินว่างตอบคุณ แต่เสี้ยววินาทีต่อมาก็มีข้อความจากเพจนั้นทักคุณมาด้วยข้อความอัตโนมัติ บางเจ้าอาจจะเซ็ทค่าให้โต้ตอบคำถามง่ายๆ ได้ ดูเผินๆ ไม่มีอะไรมาก แต่ Chatbot ช่วยเพิ่ม Responded Rate (อัตราการโต้ตอบข้อความของเพจ Facebook) ให้สูงขึ้น ทำให้ลูกค้ามองว่าคุณใส่ใจในการตอบคำถามและรวดเร็วก็เป็นหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ลูกค้าสั่งซื้อสินค้าเช่นกัน 5. LIVE STREAMING หรือการไลฟ์สด คือช่องทางการนำเสนอวิดีโอในอีกระดับหนึ่ง แทนที่จะสร้างวิดีโอขึ้นมาและต้องกังวลว่าจะต้องเริ่มต้นอัดใหม่เพราะไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ นักการตลาดสามารถกระชับพื้นที่ให้ใกล้ชิดลูกค้ามากด้วยการนำเสนอสิ่งที่จะขายได้อย่างง่ายและเป็นธรรมชาติอีกด้วย สำคัญที่สุดคือสามารถตอบโต้กับลูกค้าแบบเรียลไทม์ได้ อย่างที่กล่าวมาหลายครั้งแล้วว่าลูกค้าชอบมีส่วนร่วมที่สุด ซึ่งการไลฟ์สดได้ตอบโจทย์ตรงนี้ได้อย่างดี 6. INFLUENCER คือ บุคคลที่มีอิทธิพลในโลกโซเชียลและมีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคค่อนข้างมาก ตัวอย่างเช่น บิวตี้บล็อกเกอร์ชื่อดังอย่างโมเม บุรณะศิริ หรือ เจ้าของรายการโมเมพาเพลินที่สาวๆ น้อยคนจะไม่รู้จัก เธอเป็นผู้จุดกระแสบิวตี้บล็อกเกอร์คนแรกๆ ของเมืองไทยได้มีการกล่าวไว้มากมายว่า 80% ของผู้บริโภคซื้อสินค้าตามที่บิวตี้บล็อกเกอร์แนะนำ เพราะว่าน่าเชื่อถือและจริงใจ ดูท่าแล้วว่าจะจริง สังเกตได้จากตัวคุณเอง เวลาจะตัดสินใจซื้ออะไรก็มักจะดับเบิ้ลเช็คจากความคิดเห็นของบุคคลผู้มีอิทธิพลเหล่านี้ก่อนตัดสินใจซื้อเสมอ 7. คอนเทนต์เรียกไลค์ คือ คอนเทนต์ที่สร้างขึ้นมาเป็นรูปภาพ,วิดีโอหรือมีมที่ใช้กระแสในการโปรโมท โดยเชื่อมโยงสิ่งที่เป็นกระแสอยู่กับสินค้าของแบรนด์ เป็นอะไรที่ง่ายที่สุดแต่ก็ยากที่สุดเช่นกัน เพราะไม่ใช่ทุกแบรนด์ที่เล่นกระแสแล้วจะลอยลมตามได้ คอนเทนต์นี้ต้องใช้ความครีเอทีฟและการเข้าใจถึงอารมณ์ขันของผู้บริโภคมากทีเดียว ตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จ คือ เพจของเครืองโรงหนังเมเจอร์ที่มักจะใช้ Catchphrase (คำพูดที่กำลังฮิตติดหู) และกระแสสังคมในการสร้างคอนเทนต์ล้อเลียนเพื่อโปรโมทหนังที่กำลังฉายอยู่หรือกำลังจะเข้าฉายอยู่ในตอนนี้